ยุคที่มีเสน่ห์ที่สุดในด้านศิลปะ งานกราฟิค และสถาปัตยกรรมคืออาร์ต นูโว (Art Nouveau) ผลงานของคลิมท์ (Gustav Klimt) มูคา (Alphonse Mucha) และเบียร์ดสลีย์ (Aubrey Beardsley) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาตินั้นถูกปลุกขึ้นมาให้มีชีวิตด้วยแสงและดนตรีซึ่งจัดขึ้นที่ RCB Galleria ชั้น 2 ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม-16 เมษายน 2020 ต่อเนื่องจากความสำเร็จของนิทรรศการมัลติมีเดีย “From Monet to Kandinsky” มาสู่โชว์ครั้งใหม่ในรูปแบบมัลติมีเดียครั้งแรกของโลก “SOMETHING NOUVEAU. KLIMT, MUCHA, BEARDSLEY” ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะดิจิทัล (Museum of Digital Art – MODA) ที่กรุงเทพ
ที่สุดแห่งสุนทรียะในแง่ของลัทธิศิลปะสมัยใหม่คืออาร์ต นูโว อันเป็นที่ประจักษ์จากความรุ่งเรืองของศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานดีไซน์ ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาอันสั้น (ตั้งแต่ปี 1890 ถึง 1910 และรุ่งเรืองที่สุดในปี 1900) ความงดงามและสไตล์อันเป็นปัจเจกล้วนเป็นที่ชื่นชมไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน อาร์ต นูโว ได้เสาะแสวงหาสุนทรียะอันทันสมัยอย่างแท้จริงจนกลายเป็นนิยามของภาษาภาพในช่วงเวลาหนึ่ง…ที่เรียกกันว่ายุคทอง
ในช่วงที่อาร์ต นูโว เบ่งบานนั้นคือความอว็องการ์ด (avant-garde) หรือความล้ำอย่างแท้จริงซึ่งลัทธิทางศิลปะนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างยิ่งที่จะประนีประนอมความต้องการต่างๆ ของยุคสมัยแห่งเทคนิคและความปรารถนาในแง่ความงามและการเชิดชู ศิลปินอาร์ตนูโวได้ล้มล้างความเชื่ออันแพร่หลายในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่งานจิตรกรรมและประติมากรรมอยู่เหนืองานฝีมือ ศิลปินเหล่านี้ปรารถนาความคิดในแง่ของ “ศิลปะแขนงต่างๆ” เข้ามาแทนและช่วยลดช่องว่างระหว่างวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
ในเวลาเดียวกัน ศิลปะอาร์ต นูโว ได้พัฒนาไปในที่ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากในที่ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ศิลปินอาร์ต นูโว มีความคิดร่วมกันซึ่งถ่ายทอดออกมาอย่างชาญฉลาดโดยบิดาแห่งปรัชญา ดีไซเนอร์ชาวอังกฤษและนักธุรกิจนาม วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) “เพื่อมอบความพึงพอใจในสิ่งต่างๆ ให้กับผู้คน สิ่งนั้นจำเป็นต้องใช้โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนั่นก็คือการตกแต่งออฟฟิศ ส่วนการมอบความพึงพอใจในสิ่งต่างๆ พวกเขาจำเป็นต้องทำสิ่งนั้นขึ้นมาและให้คนอื่นได้ใช้”

หลากหลายชื่อ สุนทรียะหนึ่งเดียว
ศิลปะอาร์ต นูโว ปรากฏอยู่ในหลายแขนง ดังนั้นจึงมีหลายชื่อเรียก ที่ประเทศสก็อตแลนด์มีสไตล์แนวเส้นตรงแบบ กลาสโกว์ (Glasgow) มีชื่อเรียกเป็นภาษาอิตาเลียนว่า Arte Nuova หรือ Stile Liberty ส่วนที่เบลเยี่ยมเรียกว่าสไตล์ Nouille (noodle) หรือ Coup de Fouet (whiplash) ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเรียกว่า Tiffany Style ที่เยอรมนีและออสเตรียเรียก Jugendstil (young style) และที่ฝรั่งเศสเรียก Style Metro หรือ Belle Époque คำว่า Art Nouveau เป็นชื่อเรียกสไตล์อันเป็นหนึ่งเดียว ส่วนชื่ออื่นๆ ไม่ใช่สไตล์เดียวแต่หลากหลาย ศิลปินอาร์ต นูโว ได้แรงบันดาลใจจากความโค้งมนแบบรอคโคโค (Rococo) เส้นสายงานกราฟิคแบบเคลติค (Celtic) งานบล็อคไม้แบบญี่ปุ่น พวกเขาจึงนำรูปทรงของต้นไม้ที่พบตามธรรมชาติ จากนั้นนำมาประยุกต์และทำให้ดูเป็นลวดลายนามธรรมที่สง่างามและเป็นธรรมชาติ
นิทรรศการมัลติมีเดีย “Something Nouveau. Klimt, Mucha, BEARDSLEY” เป็นดั่งนิยายสามภาคที่อุทิศให้กับงานศิลปะของสามศิลปินระดับมาสเตอร์ ผลงานมาสเตอร์พีซที่สวยงามกว่า 500 ภาพนำเสนอด้วยการฉายโปรเจ็กเตอร์ไปยังจอขนาดใหญ่ โปรเจ็กเตอร์จัดวางไว้ในมุมต่างๆ ของห้องมัลติมีเดียขนาดใหญ่ จึงเป็นโอกาสอันแตกต่างสำหรับผู้ชมที่จะได้ชมรายละเอียดเล็กๆ อย่างใกล้ชิดซึ่งมีความสำคัญและเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ที่แฝงอยู่ในงานศิลปะอาร์ต นูโว
ผู้ที่ถ่ายทอดความเป็นที่สุดแห่งประวัติศาสตร์อาร์ต นูโว ได้ดีที่สุดราวกับเปลวไฟอันโชติช่วงในเวลาอันสั้นคือศิลปินหนุ่มชาวอังกฤษนามออเบรย์ เบียร์ดสลีย์ (Aubrey Beardsley) ผู้ซึ่งความแปลกประหลาดของเขาทำให้เขาเป็นผู้สร้างสรรค์งานอาร์ตนูโวด้วยความแตกต่างมากที่สุด ความสง่างามของเส้นสายในงานออกแบบของเบียร์ดสลีย์ประกอบกับอารมณ์ขันอันแปลกประหลาดและความหลงใหลในความพิสดารและข้อห้ามที่ก่อให้เกิดความสนใจขึ้นมาในเวลาเดียวกัน อีกทั้งการปฏิเสธผู้คนในยุควิคตอเรียน (Victorian era) ผลงานที่สวยงามที่สุดของเบียร์ดสลีย์ ได้แก่ Le Morte d’Arthur, Salomey และผลงานวาดภาพให้กับนิตยสาร The Savoy, The Studio และ Yellow Book นำมาจัดแสดงในนิทรรศการนี้ด้วย

ส่วนศิลปินชาวเช็กนามอัลโฟนส์ มูคา (Alphonse Mucha) นำเสนอภาพลักษณ์ของผู้หญิงสมัยใหม่ (new woman) อันแสดงให้เห็นถึงสื่อที่กำลังผงาดเข้ามามีบทบาทคืองานภาพโฆษณา ผู้หญิงมักเป็นสิ่งที่ปรากฏในงานศิลปะของเขาเพื่อจุดประสงค์ในเชิงเปรียบเทียบและการตกแต่ง มูคาและสหายส่งเสริมความเป็นเฟมินีนเสมือนเป็นสิ่งต่อต้านโลกที่ถูกครอบงำด้วยอุตสาหกรรม ความไม่เป็นส่วนตัวและโลกของผู้ชาย (masculine) นิทรรศการมัลติมีเดียอันสวยงามแสดงให้เห็นถึงผลงานอันงามสง่าที่สุดของมูคาในสมัยที่สร้างสรรค์งานในกรุงปารีส
ในขณะที่เบียร์ดสลีย์ (Beardsley) เป็นอัจฉริยะที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝน กุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) ได้เข้าเรียนในโรงเรียนศิลปะและงานฝีมือที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย จากนั้นความอัจฉริยะของเขาจึงเริ่มต้นขึ้น งานยุคแรกๆ ของเขาได้เติมเต็มความคาดหวังในเชิงวิชาที่ร่ำเรียนมาและตอบสนองพวกชนชั้นกลาง จึงเป็นภาพของธรรมชาติและฉากต่างๆ ในประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม งานของเขาไม่สนองต่อข้อจำกัดของนิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox) บรรยากาศของความรักในเชิงอีโรติคและเรื่องเพศอบอวลไปทั่วกรุงเวียนนาในช่วงปี 1900 และมีอิทธิพลกับเขาอย่างมาก เฉกเช่นนักปรัชญานามฟรีดริช นีทเชอ (Friedrich Nietzsche) คลิมท์มองว่าศิลปินคือผู้ส่งสารแห่งความจริง ไม่ใช่ความเพ้อฝันแต่อย่างใด ในปัจจุบันภาพจิตรกรรมสีทองอันโดดเด่นของเขาเป็นที่รู้จักและชื่นชมไปทั่วโลก ผลงานมาสเตอร์พีซของเขาเป็นหัวใจอันแท้จริงของสไตล์ศิลปะแบบอาร์ตนูโวและการแสดงแบบมัลติมีเดีย ผู้ชนจะเพลิดเพลินไปกับผลงานสีทองที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ไปจนถึงผลงานในยุคต้นๆ และชิ้นมาสเตอร์พีซคลาสสิค

ร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดล้ำไปกับ MODA พิพิธภัณฑ์ศิลปะดิจิทัลแห่งแรกของกรุงเทพที่ชั้น 2 ของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เปิดตัวด้วยธีมแรก Something Nouveau ในวันที่ 15 มกราคม 2020 เพื่อให้เหล่าอาร์ตเลิฟเวอร์สได้ใกล้ชิดกับศิลปะอาร์ตนูโวของศิลปินชื่อดัง นำโดยกุสตาฟ คลิมท์, อัลโฟนส์ มูคา และออร์เบรย์ เบียร์ดสเลย์ บัตรราคา 350 บาทสำหรับผู้ใหญ่ และ 250 บาทสำหรับผู้อาวุโสและนักเรียน อีกทั้งมีส่วนลดพิเศษเมื่อมาเป็นกลุ่มและซื้อบัตร Early Bird ที่เว็บไซต์ Zip Event www.zipeventapp.com